csr คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยจะเป็นการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรม และมีระบบการจัดการที่ดี รับผิดชอบทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร ซึ่ง csr จะนำไปสู่การพัฒนาที่มีความยั่งยืน โดยคำนี้มีการย่อความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษที่เรียกว่า corporate social responsibility โดย csr นี้จะมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังต่อไปนี้
ระดับของ csr คือ อะไร
- csr ระดับที่ 1 Mandatory Level ในระดับนี้นั้นจะหมายถึง ข้อกำหนดตามกฎหมาย การที่ธุรกิจมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย และตามกฎเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายแรงงาน การจ่ายภาษี เป็นต้น
- csr ระดับ 2 Elementary Level สำหรับระดับนี้คือประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงการทำธุรกิจที่จะต้องมีการคำนึงถึงในเรื่องของความสามารถในการอยู่รอด และการให้ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้น โดยการทำกำไรที่ได้จะต้องไม่ใช่การทำกำไรที่เกิดจากการเบียดเบียนสังคม
- csr ระดับ 3 Preemptive Level สำหรับระดับนี้จะหมายถึงจรรยาบรรณทางธุรกิจ โดยมีความหมายหมายถึงการทำธุรกิจที่สามารถสร้างผลกำไร ให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่มีความเหมาะสม และผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ให้การใส่ใจเพื่อที่จะให้ประโยชน์ตอบแทนกับสังคมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมที่อยู่ในบริเวณรอบข้าง ที่มีความคาดหวังที่จะได้รับการใส่ใจและได้รับการดูแลจากผู้ทำธุรกิจ
- csr ระดับ 4 Voluntary Level สำหรับระดับนี้หมายถึงความสมัครใจ โดยการดำเนินธุรกิจที่มีการควบคู่กันไปกับการปฏิบัติตามแนวทางของ CSR โดยปฏิบัติด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคมโดยรอบ โดยการประกอบธุรกิจต่างๆจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความมุ่งเป็นประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ
ควรเริ่มทำ csr อย่างไร
- ก่อนอื่นคุณจะต้องมีการพิจารณาก่อนว่ากิจกรรมที่ทำนั้นส่งผลประโยชน์ต่อผู้อื่น csr ต้องส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศโดยรวมหรือไม่ โดยจะต้องทำกิจกรรมที่มีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ และไม่ขัดต่อกฎหมายที่ได้กำหนดเอาไว้
- csr คือ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร ต้องมีความรับผิดชอบต่อการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนหรือผลตอบแทนให้ตรงต่อเวลา เพื่อที่จะทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัย
- csr คือ ผู้บริหารหรือผู้ที่จัดการองค์กรต้องมีความรับผิดชอบ ในการบริหารที่มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ มันจะต้องมีโครงสร้างและมีกลไกในการดูแลกิจการที่ดี โดยมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมค่านิยมองค์กร คณะคติของบุคลากรที่ดี แล้วมีความเอื้อต่อความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อที่จะทำให้เป็นรากฐานของการรับผิดชอบของคนทั่วทั้งองค์กร
โดยสรุปแล้วองค์กรที่จะเริ่มการทำ csr ภายใต้องค์กรได้จะต้องมีความพร้อมในการขับเคลื่อนภายนอกองค์กรมากพอสมควร โดยสามารถเริ่มต้นจากทางการทำกิจกรรม csr เพื่อสังคมภายนอกเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความรับผิดชอบต่อสังคม