Ci คือ Corporate Identity หรืออีกชื่อของ Ci คืออัตลักษณ์ขององค์กร โดยอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น Ci คือกฎเกณฑ์หรือรูปแบบหลักในการออกแบบ Artwork ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับองค์กรต่าง ๆ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่โลโก้ แต่Ci คืองานกราฟฟิกทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึง Copy ต่าง ๆ ด้วย
ซึ่งความสำคัญของCi คือสิ่งที่สร้างเอกลักษณ์ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้ดีมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นCi คือตัวที่แสดงให้ลูกค้าเห็นตัวตนของแบรนด์ว่าเป็นใคร มีเป้าหมายอย่างไรได้อีกด้วย
ความแตกต่างระหว่าง Branding กับ Ci คืออะไร
หลายคนอาจกำลังสับสนว่าระหว่าง Branding กับCi คือสิ่งเดียวกัน ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เนื่องจากCi คือส่วนหนึ่งของการทำ Branding ให้คนสามารถรู้จัก จดจำ
และนึกถึงแบรนด์ได้มากขึ้นต่างหาก โดย Ci คือระเบียบที่ทุกคนในองค์กรต้องยึดมั่นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญ, การโปรโมท, การทำโฆษณา ล้วนแล้วต้องยึด Ci เป็นพื้นฐาน เพื่อให้งานออกไปทางเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะนั่นเอง
ความสัมพันธ์ของ social media กับCi คืออะไร
ปัจจุบันผู้คนต่างใช้เวลาไปกับ social media เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้หลายธุรกิจทำการสร้างแบรนด์ออนไลน์กันมากขึ้นและแน่นอนว่าการทำโฆษณาหรือสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อเกิดการสร้างคอนเทนต์แน่นอนว่า Ci คือพระเอกที่ทุกฝ่ายในองค์กรต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกหรือ “ภาษา” ที่ใช้เขียนกำกับด้วย
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเพจชื่อดังหลายเพจจะใช้ภาษาที่ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจทันที แน่นอนว่าเพจขนาดใหญ่ย่อมมีทีมงานแอดมินในการทำงาน หากไร้มาตรฐานกลางงานที่ออกมาอาจไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นCi คือสิ่งที่ทำให้งานออกมาเป็นในทางเดียวกันนั่นเอง
แต่การกำหนดภาษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น เพจความบันเทิง สามารถใช้คำศัพท์วัยรุ่น คำศัพท์แรง ๆ ที่มีการบิดเบือนไปจากหลักภาษาได้เพื่อความสนุก แต่ทางกลับกันเพจที่ต้องการให้ความรู้เฉพาะด้านอย่างจริงจัง เช่น เพจทางการแพทย์, เพจด้านการเงิน หรือเพจด้านความรู้กฎหมาย ควรใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายด้วย
อยากให้คนจดจำแบรนด์ Ci คือคำตอบ
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Ci คือแนวทางที่ทั้งองค์กรต้องยึดมั่น และมีความสำคัญที่ทำให้ผู้คนจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า Ci ที่เลือกนั้นดีแล้วหรือยัง ต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง อ่านต่อได้เลยค่ะ
- กำหนด Mood & Tone ให้เป๊ะ…ปังได้ง่ายกว่าที่คิด!
การกำหนด Mood & Tone เป็นการใช้ Concept และจุดเด่นของธุรกิจมาใช้สร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่ลูกค้าทำให้พวกเขาสัมผัสถึงแบรนด์ได้อย่างลึกซึ้งขึ้น ซึ่งการกำหนด Mood & Tone สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ทำความรู้จักกับสินค้าที่ขายให้ดีมากขึ้นเพื่อหา “จุดเด่น” ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น
- สำรวจกลุ่มลูกค้าเพื่อหา “ความชอบ” ของลูกค้าให้ชัดเจนที่สุด
- กำหนด Concept ที่ต้องการมอบให้ลูกค้า
- เลือก Mood & Tone ให้เข้ากับ Concept ที่ต้องการสื่อสาร
- องค์ประกอบของ Brand Ci
เมื่อกำหนด Mood & Tone ที่ต้องการถ่ายทอดออกมาได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องมากำหนด Brand Ci ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีปัจจัย 3 ประการที่ต้องให้ความสำคัญ
- สีประจำของแบรนด์
สี มีความสำคัญมากเนื่องจากแสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละแบรนด์ เช่น ธุรกิจที่ต้องการสื่อถึงความล้ำสมัยของเทคโนโลยีของโลก Metaverse อาจเลือกสีม่วง, น้ำเงิน, ชมพู หรือโทนสีนีออน แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม อาจเลือกสีเขียว, สีน้ำตาล, สีฟ้า ใน Earth Tone ก็ได้เช่นกัน
- รูปแบบฟอนต์
ฟอนต์นั้นส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้าได้เช่นเดียวกับการเลือกสีประจำแบรนด์ ฟอนต์สะท้อนถึงตัวตน ความน่าเชื่อ และเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างชัดเจน โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม, ตัวตนของแบรนด์, ภาษา และความยากง่ายในการอ่าน เป็นหลักอีกด้วย
- โลโก้ของแบรนด์
โลโก้ที่ดีต้องมีการผสมผสานระหว่างสีและฟอนต์รวมถึงการออกแบบที่สะท้อน Mood & Tone ของแบรนด์ได้ชัดเจน มองแล้วต้องรู้ทันทีว่าเป็นโลโก้ของแบรนด์ไหน เพื่อเป็นการสร้างภาพจำให้กับผู้พบเห็นได้ ซึ่งหลักการออกแบบโลโก้ที่ดีจะช่วยให้แบรนด์น่าเชื่อถือได้อีกด้วย
การสร้างแบรนด์กับการใช้ Ci ในการควบคุมประสิทธิภาพของการสร้างสื่อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง หากเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังคิดจะทำแบรนด์หรือกำลังกังวลกับการทำแบรนด์อยู่ การลองปรับ Ci เพื่อใช้ในการทำงาน ถือเป็นไอเดียที่ดีและมีประโยชน์มากจริง ๆ
อย่างไรก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจและเห็นความสำคัญของ Brand Ci กันมากขึ้นนะคะ หากชื่นชอบสาระความรู้เกี่ยวกับธุรกิจแบบนี้ ก็อย่าลืมติดตามการอัปเดตจากเราด้วยนะคะ