ในด้านประสบการณ์ของคนทำธุรกิจเคยไหมที่ไม่ว่าจะจ่ายเงินให้กับค่าโฆษณาและการโปรโมตไปมากเท่าไหร่แต่ผลที่ได้กลับมานั้นก็ยังไม่มากพอตามที่คาดการณ์ไว้ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นก็มีคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผลหรือเมื่อโปรโมตไปแล้วคนรู้จักเยอะขึ้นก็จริงแต่ยอดขายที่ได้กลับไม่เพิ่มขึ้นเลย ซึ่งปัญหาเหล่านั้นหากเราลองมองย้อนกลับมาสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะการที่ธุรกิจทำการตลาดแบบไม่รู้ใจลูกค้าก็เป็นได้ และในบทความนี้เราจึงอยากที่จะนำเสนอกลยุทธ์การตลาดแบบ Personalized Marketing ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถมัดใจลูกค้าได้อย่างอยู่หมัด

Personalized Marketing คืออะไร

Personalized Marketing คือ  กลยุทธ์การตลาดในรูปแบบหนึ่งที่นักการตลาดใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เข้ามาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้งสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ เพื่อให้แบรนด์สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้แบบคนรู้ใจ ช่วยให้นักการตลาดสามารถนำผลการวิเคราะห์ Data มาพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ การนำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและการทำโฆษณาให้ตรงใจผู้ชม ซึ่งการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ได้แบบ Real-Time หรือสามารถตอบสนองได้แบบทุกที่ ทุกเวลา และเพื่อเพิ่มยอดขาย

 

Personalized Marketing มีกี่แบบ

สามารถแบ่งได้ 2 แบบดังนี้

  1. Segmentation 

แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นสัดส่วนเพื่อให้รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนต่างกันอย่างไร ตามเงื่อนไขที่เราตั้งไว้ เช่น อายุ เพศ การศึกษา รายได้ หรือพฤติกรรมการใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นวิธีที่พื้นฐานที่ช่วยทำให้วางแผนการตลาดได้ตรงใจเหมาะกับการ Personalized กลุ่มลุกค้าเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ที่พอดีให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดให้คุ้มกับ ROI ได้

2. 1-to-1 Personalization

การสร้าง Personal Experiences แบบ 1 ต่อ 1 ที่หมายถึงต่อ 1 คนจริง ๆ วิธีนี้ไม่สามารถ ใช้คนทำได้จะต้องมีการใช้ เทคโนโลยี MarTech ช่วยในการรวบรวม Customer data ที่เกิดขึ้นแบบ Realtime ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เข้าถึงลูกค้ารายคนได้แบบตรงจุดและเฉพาะเจาะจง

 

Personalized Marketing มีประโยชน์อย่างไร

สมมุติว่ามีร้านอาหารแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมืองและลูกค้าส่วนมากของร้านก็มักจะเป็นกลุ่มคนในวัยทำงานที่แวะมาทานในช่วงพักเที่ยงหรือหลังเลิกงาน ซึ่งเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายของร้านทางร้านจึงได้จัดโปรโมชั่นลดราคาไว้ในช่วงพักเที่ยงและหลังเลิกงานรวมทั้งคิดเมนูหรือสร้างสรรค์เมนูต่าง ๆ ที่มีราคาและคุณภาพที่สมเหตุสมผลกับลูกค้าของร้าน

 

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านค้าน่าจะต้องรู้ว่า ลูกค้าของเขาส่วนมากเป็นใคร ทำงานแบบไหน เงินเดือนเท่าไหร่ ไลฟ์สไตล์อย่างไร จะวางแผนการตลาดหรือจัดโปรชันอย่างไรให้ถูกใจกับกลุ่มลูกค้าของตนเอง ซึ่งแบบนี้ก็คือประโยชน์ของ Personalized Marketing นั่นเอง เพราะจะทำให้ธุรกิจได้ ข้อมูลลูกค้าเพื่อที่จะได้นำไปวางแผนการตลาดต่อไปนั่นเอง แถมยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ ลดโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปใช้สินค้า และบริการแบรนด์อื่น ๆ ได้อีกด้วย